คำถามใหญ่ของนักวิ่งเทรลมือใหม่ที่อยู่ในอันดับแรก ๆ ของลิสต์คำถามเลยก็คือ “วิธีเลือกซื้อรองเท้าวิ่งเทรล แบบไหนให้เหมาะกับเรา?”
แน่นอนล่ะว่า สถานที่แรกที่เข้าจะเข้าไปทำการค้นหาก็คือ Google หลังจากที่พิมพ์คำถามเข้าไปแล้ว เราจะพบว่าอัลกอริทึ่มของ googleได้แสดงผลการค้นหาออกมาให้เราเลือกอย่างยาวเหยียด ราวกับโกดังรองเท้าวิ่งขนาดยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุดและอัดแน่นไปด้วย
รองเท้าหลากหลายแบบและรุ่น จนไม่รู้ว่า รองเท้าวิ่งเทรล รุ่นไหนหรือแบบไหนถึงจะเหมาะกับเราจริง ๆ
5 วิธีเลือกซื้อรองเท้าวิ่งเทรล ให้เหมาะกับเรา
1 สำรวจ หรือวิเคราะห์วิธีการเดินของตัวเอง
ใช้มือถือเปิดโหมดวิดิโอ แล้วถ่ายโฟกัสเท้าช่วงที่เดินหรือวิ่ง เพื่อที่จะใช้ดูว่าลักษณะการลงน้ำหนัก การวางเท้าของเราระหว่างวิ่งและเดินเป็นอย่างไร?
เพื่อที่จะได้เลือกรองเท้าที่มีระบบซัพพอร์ตตรงกับตำแหน่งเท้าที่เราลงน้ำหนักจริง ๆ
2 ลักษณะเส้นทางการวิ่งที่เราจะไปวิ่ง
หลังจากที่วิเคราะห์วิธีการเดินของตัวเองแล้ว ต่อมาเราก็มาหาข้อมูลเส้นทางเทรลวิ่งที่เรากำลังจะไป โดยอาจจะหาอ่านจากรีวิวผ่านสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ
หรือสอบถามจากผู้ที่เคยไปมาโดยตรง (ในกรณีที่มีคนรู้จักกันเคยไป) เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัว และเลือกแบบ รองเท้าวิ่ง ได้เหมาะกับสภาพพื้นที่
- - พื้นที่ที่ไปวิ่งเต็มไปด้วยโคลนลื่น ๆ - -
แน่นอนล่ะว่า การวิ่งเทรลเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางที่จะต้องเจอโคลนลื่น ๆ ได้ ดังนั้น เราควรเลือกรองเท้าวิ่งที่มีปุ่มรองเท้าลึกและพื้นรองเท้ายังคงยึดเกาะเป็นพิเศษ
- - ภูมิประเทศที่สูงชันและยากลำบาก - -
หากคุณกำลังเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งเทรลที่เป็นเส้นทางวิบากหรือมีภูมิประเทศที่สูงชันและยากลำบาก รองเท้าวิ่งเทรลที่ควรเลือกควรเน้นเรื่องระบบซัพพอร์ตหรือการปกป้องเท้าเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะไม่วิ่งเตะรากไม้จนเท้าเป็นแผล หรือวิ่งแล้วข้อเท้าพลิก แน่นอนว่าต้องมีระบบการยึดเกาะที่ดี และสิ่งสำคัญคือรองเท้าของคุณต้องสวมใส่สบายและพอดีกับเท้าของคุณ เพื่อให้คุณหยุดเท้าของคุณไม่ให้เคลื่อนไหวบนทางลาดชันที่ไม่สม่ำเสมอได้
3 จุดประสงค์ของการไปวิ่งเทรล
หากเราต้องการไปวิ่งเทรลเพื่อแข่งขันชิงถ้วย หรือแข่งขันกับสถิติเวลาของตัวเอง รองเท้าวิ่งเทรลที่เหมาะกับคุณควรมีน้ำหนักเบา มีโครงสร้างการซัพพอร์ตที่ไม่เทอะทะมากนัก
แต่ยังคงยึดเกาะได้ดี แต่หากในกรณีที่เราไปวิ่งเพื่อให้ทันเวลาก่อนตัดรอบ เราอาจจะเลือกรองเท้าที่มีโครงสร้างการซัพพอร์ตและการป้องกันมากกว่า และแน่นอนว่าต้องมีระบบพื้นที่ยึดเกาะได้ดีด้วย
4 Feature เสริมอื่น ๆ ที่ทำให้วิ่งสบายมากขึ้น
- - Waterproof - -
ปัจจุบันรองเท้าเทรลหลายรุ่นถูกออกแบบให้สามารถกันน้ำได้ โดยออกแบบให้ส่วนบนทำจากผ้าที่แห้งไวและทนทาน เช่น GORE-TEX เพื่อให้เท้าของคุณแห้งสบายอยู่เสมอตลอดการวิ่ง
- -มีส่วนที่ช่วยซัพพอร์ตเท้า- -
ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่หุ้มข้อเท้า ลิ้นรองเท้าบุนวม ส่วนเสริมเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกนี้ช่วยเพิ่มการรองรับและหลีกเลี่ยงการเสียดสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณวิ่งเป็นเวลานาน
รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้สามารถสร้างความแตกต่างความรู้สึกระหว่างวิ่งได้
5 เลือกรองเท้าให้พอดีกับ "เท้า" ของเรา
เท้ามีความซับซ้อนทางชีวกลศาสตร์ การเลือกรองเท้าให้มี”ความพอดี” จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจมากกว่ารีวิวเสียอีก เพราะถึงต่อให้รีวิวของ รองเท้าวิ่ง รุ่นนั้นจะดีสักแค่ไหน แต่หากไม่มีความพอดีกับเท้าของคุณ ก็ไร้ความหมาย
การวัดขนาดรองเท้าที่ดี เราควรวัดทั้งด้านกว้างด้านยาว และปัจจัยต่างๆ เช่น รูปร่างส่วนโค้ง ความยาวส่วนโค้ง ปริมาณเท้า และอย่ารีบด่วนสรุปตัดสินใจว่า คุณรู้ขนาดไซส์รองเท้าที่แท้จริง เพราะอย่าลืมว่า เท้าของคุณเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงงอายุและจะมีอาการบวมขณะวิ่ง ดังนั้นคุณจะต้องการรองเท้าที่มีความยาวและความกว้างเพียงพอส่วนด้านหน้าของรองเท้า หรือที่เรียกกันว่า TOE BOX
และนี่คือ 5 วิธีเลือกซื้อรองเท้าวิ่งเทรล ที่พอจะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะกับตัวเราเองได้มากที่สุด และคุ้มค่าเงินมากที่สุด แต่เพื่อเข้าใจเรื่องของรองเท้าวิ่งมากขึ้น การรู้จักโครงสร้างของรองเท้าวิ่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
และในบทความนี้เราก็ได้นำศัพท์โครงสร้างรองเท้าวิ่งที่สำคัญๆ มาให้รู้จักกันค่ะ
โครงสร้างของ รองเท้าวิ่งเทรล
OUTSOLE :
เป็นส่วนหนึ่งของรองเท้าวิ่งเทรลที่อยู่ชั้นนอกระหว่างเท้ากับพื้น ทำจากยาง ซึ่งให้การยึดเกาะและความทนทาน พื้นรองเท้าชั้นนอกเป็นกุญแจสำคัญในการยึดเกาะบนเส้นทางเดินเขาและในขณะเดียวกันก็ป้องกันหิน โขดหิน และรากไม้
MIDSOLE :
MIDSOLE หรือ พื้นรองเท้าชั้นกลางของรองเท้าวิ่งเทรล คือชั้นกันกระแทกที่ประกบระหว่างพื้นรองเท้าชั้นนอกและส่วนบน พื้นรองเท้าชั้นกลางส่วนใหญ่ทำจากวัสดุประเภทโฟม โดยมากมักจะเป็น EVA และสร้างชั้นที่นุ่มขึ้นซึ่งทั้งดูดซับแรงกระแทกจากแรงกระแทกของการวิ่งและยังให้การรองรับเท้าของคุณด้วย
HEEL / PULL TAB:
รองเท้าเทรลบางรุ่นเพิ่มแถบดึงง่าย ๆ ด้านหลังส้นเพื่อให้สวมรองเท้าได้ง่ายขึ้น
LUGS :
เป็นจุดยางนูนเล็กๆ ที่บุพื้นรองเท้าชั้นนอกของรองเท้าเทรลส่วนใหญ่ มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร ความยาวและรูปแบบในจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของสภาพการใช้งานรองเท้า เช่น ดอกยางที่สูงสุด คือ 8 มม. มักพบในรุ่นที่เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เปียกเป็นโคลน ในขณะที่รุ่นที่มีดอกยางต่ำกว่า 4 มม. มักใช้เป็นรองเท้าแบบ Road-to-Trail
OVERLAY :
เป็นส่วนเพิ่มการป้องกัน เพิ่มความมั่นคงให้กับเท้า ความพอดี และเพิ่มความทนทาน โดยทั่วไปแล้วจะเย็บ ติดกาว หรือเชื่อมด้วยความร้อน โดยทั่วไป รองเท้าที่มีส่วนหุ้มชั้นนอกจำนวนมากจะรู้สึกแข็งและรองรับได้ดีกว่าผ่านส่วนบน
TOE SPRING :
ระดับที่พื้นรองเท้าชั้นนอกโค้งขึ้นที่ปลายเท้า ประโยชน์จากการออกแบบนี้เพื่อส่งเสริมการเขย่งเท้า
TOE CAP :
เป็นขอบยางหรือพลาสติกที่ยื่นออกมาจากพื้นรองเท้าชั้นนอกใต้รองเท้าและติดกับส่วนบนที่ด้านหน้าของ TOE BOX มีหน้าที่หลักในการปกป้องนิ้วเท้าของคุณจากหินและเศษหินอื่นๆ
STACK HEIGHT :
ระยะห่างระหว่างเท้ากับพื้น (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) โดยวัดจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรองเท้า ความสูงของ STACK เป็นเมตริกที่ใช้คำนึงถึงปริมาณการรองรับแรงกระแทกของรองเท้า
HEEL CRASH PAD :
เป็นส่วนของพื้นรองเท้าชั้นกลางที่ยื่นออกมาจากด้านหลังของใต้ส้นรองเท้า คุณสมบัตินี้เพื่อรองรับการกระแทกที่ส้นเท้า
HEEL COUNTER:
ตั้งอยู่ทางด้านหลังของรองเท้า อยู่เหนือ Heel Cup ด้านในหรือด้านนอกของรองเท้า เป็นแผ่นเสริมแข็ง มักเป็นพลาสติก ซึ่งการล็อคส้นเท้าทั้งด้านข้างและตรงกลาง จุดประสงค์หลักคือเสริมการรองรับและควบคุมการเคลื่อนไหวโดยการล็อคเท้าให้เข้าที่
ดังนั้น รองเท้าเทรลมักจะมีส่วนส้นที่กระชับกว่ารองเท้าออกกำลังกายทั่วไป
TOE BOX :
คือช่องว่างด้านในบริเวณส่วนหน้าของรองเท้า เป็นส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้า เป็นที่ที่นิ้วเท้าและปลายเท้าของคุณพอดีกับรองเท้า และสิ่งสำคัญคือบริเวณกล่องเก็บนิ้วเท้าต้องกว้างพอที่จะรู้สึกสบายขณะวิ่ง
HEEL CUP :
คือบริเวณด้านหลังของรองเท้าบริเวณส้นเท้า ถูกออกแบบมาให้ เหมาะกับรูปร่างของเท้าที่แตกต่างกันและให้สวมใส่สบายเป็นสำคัญ เช่น ถ้าคุณมีส้นเท้าแคบ คุณก็ต้องการรองเท้าที่ส่วน HEEL CUP แคบลง
LAST:
เป็นแม่พิมพ์ของรองเท้าและส่วนที่กำหนดโครงร่างของรองเท้า ดังนั้นแม่พิมพ์จึงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบโค้ง แบบกึ่งโค้ง และแบบตรง แม่พิมพ์เหล่านี้จะเหมาะกับรูปร่างเท้าที่แตกต่างกัน
INSOLE :
INSOLE หรือ พื้นรองเท้าด้านใน เป็นพื้นที่ของรองเท้าที่เท้าของคุณวางทับด้านในรองเท้า พื้นรองเท้าด้านในเป็นส่วนที่เสริมการรองรับและรองรับแรงกระแทก โดยทั่วไปทำจากโฟม EVA หรือ OrthoLite
ชิ้นส่วนนี้สามารถเปลี่ยนได้หากสึกหรือเปลี่ยนตามความชอบ
TOUNG AND EYELETS :
ลิ้นรองเท้า และ และช่องรอยเชือกรองเท้า เป็นจุดเล็ก ๆ ที่สร้างความแตกต่างความสบายเท้า และความสะดวกสบายในการสวมใส่ให้กับคุณ
HEEL CUP :
คือบริเวณด้านหลังของรองเท้าบริเวณส้นเท้า ถูกออกแบบมาให้ เหมาะกับรูปร่างของเท้าที่แตกต่างกันและให้สวมใส่สบายเป็นสำคัญ เช่น ถ้าคุณมีส้นเท้าแคบ คุณก็ต้องการรองเท้าที่ส่วน HEEL CUP แคบลง
และนี่ก็เป็นความรู้เล็กๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วงการวิ่งเทรลที่กำลังจะซื้อรองเท้าวิ่งคู่ใจสักคู่ ขอให้สนุกกับการวิ่งค่ะ
สนใจสั่งซื้อ รองเท้าวิ่งเทรล >>> รองเท้าวิ่งเทรล
-
-
- โทร. 098 279 8090
- Line OA :
-
-
- Facebook : https://www.facebook.com/pathwild
- instagram : https://www.instagram.com/pathwild/
- Youtube : https://www.youtube.com/@PATHWILD
ข้อมูลอ้างอิง :
- https://www.advnture.com/features/anatomy-trail-running-shoe
- https://blisterreview.com/gear-101/trail-running-glossary-of-terms-shoe-anatomy
- https://www.runnersneed.com/expert-advice/gear-guides/how-to-choose-the-best-trail-running-shoes.html
- https://www.rei.com/learn/expert-advice/trail-running-shoes.html