https://pathwild.com

โปรเด็ด กางเกงวิ่ง T8ลดหนัก 15%  >>คลิกเลย

15 ศัพท์ Knife Anatomy ที่คนอยากรู้จัก มีดเดินป่า ต้องรู้

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

มีดเดินป่า นั้นมีความแตกต่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการหาข้อมูลเกี่ยวกับมีด และเข้าใจโครงสร้างของมีด จะช่วยให้เราเลือกซื้อมีดที่เหมาะกับการใช้งาน
ของเราได้ดีกว่าเดิม

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

4 ปัจจัยหลักที่เราควรนำมาประกอบการพิจารณาหากคิดจะซื้อ มีดเดินป่า สักเล่ม

  1. โครงสร้างของมีด
  2. ลักษณะของใบมีด
  3. ลักษณะของด้ามจับ หรือโครงสร้างของด้ามมีด
  4. ลักษณะของฝักมีด

แต่สำหรับบทความนี้ เราจะมาย่อยแยกส่วนต่างๆของมีดหนึ่งเล่มกันก่อน ว่าส่วนต่างๆที่อยู่บนมีดนั้นเรียกกันว่าอะไรบ้าง   เพื่อให้เราพอเข้าใจเรื่องของ มีดสไตล์ Survival ได้ดียิ่งขึ้น

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

15 ศัพท์ KNIFE ANATOMY ของ มีดเดินป่า ที่ชวนให้มึนงง

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

1) Handle / Blade

เริ่มต้นจากการแยกง่ายๆ เป็นชิ้นส่วนของ ด้ามมีด (Handle) และ ใบมีด (Blade)
เป็นส่วนที่ทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้วไม่ต้องอธิบายกันมากมาย

2 ) Belly

Belly คือส่วนด้านคมมีดที่โค้งขึ้นก่อนถึงปลายมีด ในส่วนนี้เหมือนเป็นเรื่องปกติของมีดที่มีคมโค้งขึ้น
แต่ความจริงแล้ว สัดส่วนของ Belly มีความสำคัญต่อการลงน้ำหนักของมีด   เรียกได้ว่า เป็นส่วนที่ทำให้มีดมีความสมดุลในการลงน้ำหนักตอนใช้ฟันนั่นเอง

มีดที่มีความสมดุลที่ดี จะใช้แรงฟันน้อย และคนฟันก็กะน้ำหนักได้ตอนฟันได้ง่ายด้วย

3 ) Spine

คือส่วนของหลังมีด หรือสันมีด เป็นส่วนที่จะมีความหนามากที่สุดของมีด

สันมีด ถือเป็นกระดูกสันหลังของมีด ที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงของมีด   มีดเล็กๆบางเล่ม จะมีส่วนของ Spine ที่หนามาก เพื่อที่จะใช้ประโยขน์ในการตอก หรือตีน้ำหนักลงไปบน spine ได้ ในตอนที่ใช้ผ่าไม้แข็งๆ ใหญ่ๆ หรือการตอกสมอบก

ส่วนมีดที่มี Spine บางก็จะได้ประโยชน์เรื่องน้ำหนักเบา

4 ) Edge

เป็นส่วนด้านคมมีด อยู่ตรงข้ามกับ spine นั่นเอง   ดังนั้นจึงเป็นส่วนที่จะถูกใช้งานบ่อยที่สุด

5 ) Tang

บ้านเราก็มีศัพท์เรียกว่า กั่นมีด กั่นมีดจะเป็นชิ้นเดียวกับใบมีด แต่จะเป็นส่วนที่อยู่ด้านในด้ามอีกทีหนึ่ง
เพื่อยึดใบมีดให้ติดแน่นอยู่กับด้ามมีด ตัว Tang ก็จะมีหลายประเภท ทั้งมีความหนา ความยาวต่างกัน
และการประกอบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของช่าง

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

แต่ในบ้านเรา มีดเดินป่า หรือมีดใช้งานหนักทั่วๆไป จะมี Tang หรือกั่น แบบเรียวแหลม ซึ่งบางทีซื้อมาใช้ไม่กี่ทีก็หลุดออกมา อันนั้นเขาทำเผื่อมาว่า เราอาจจะอยากได้ด้ามเป็นไม้ที่ถูกใจ  จะได้ถอดออกมาประกอบได้ง่าย ซึ่งบางคนก็อยากจะแค่เปลี่ยนให้ตัวด้ามมีความยาวมากขึ้น จับถนัดมือขึ้น

ความยาวของ Tang ก็จะมีตั้งแต่ Half Tang, ¾ Tang และ Full Tang   ซึ่งความยาว Tang ยิ่งมาก ความแข็งแรงมั่นคงก็ยิ่งมาก แต่น้ำหนักก็จะมากตามขึ้นไปด้วย

6 ) Bolsters

เป็นแหวนครอบบริเวณรอยต่อของ ใบมีด และด้ามมีด  ตัวนี้เหมือนเป็นตัวรัดและเสริมให้มีดมีการยึดติดกับด้ามได้แข็งแรงมากขึ้น

โดยเฉพาะด้ามมีดที่เป็นแบบ 2 ชิ้นประกบกัน ก็จะมีตัว Bolsters ครอบรัดไว้อีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งตัว Bolsters อาจจะมีการตกแต่งเป็นลวดลายให้สวยงามเหมือนเป็นเครื่องประดับของมีดให้ดูดียิ่งขึ้น

7 ) Serrations

ส่วนนี้จะมีลักษณะเหมือนฟันเลื่อยเล็กๆ คมๆ อยู่ตรงใบมีด และจะวางไว้ตรงส่วนที่ชิดติดอยู่กับด้ามมีด
ใช้กับงานตัดแบบเลื่อย ที่คมมีดเฉือนได้ลำบาก

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

8 ) Tip

เป็นส่วนปลายมีด ซึ่งตัวTip ก็จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของปลายมีด ที่เรียกว่า Point ซึ่งขอกล่าวในตอนต่อไป
Tip และ Point บางทีก็เรียกปนๆกันไป แต่ความหมายของ Tipที่แท้จริง จะเป็นปลายสุดของ Point

9 ) Quillon

ออกเสียงว่า Key-own ตามรากศัพท์เดิมที่มาจากภาษาฝรั่งเศส
เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นแผงกั้นมือไม่ให้มือเลื่อนไปโดนใบมีด
ทีนี้ก็น่าจะนึกถึงดาบฝรั่งที่ต้องมี Quillon กั้นไว้
ส่วนใหญ่ Quillon จะมีในมีด หรือดามที่มีความใหญ่ หรือหนักมากๆหน่อย
นอกจากช่วยป้องกันมือโดนคมมีดแล้ว ยังมีประโยชน์ตอนเก็บมีดเข้าฝักอีกด้วย

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

10 ) Guard

Guard เป็นส่วนของใบมีดที่ทีโค้งยื่นออกมาป้องกันไม่ให้นิ้วหลุดลื่นไปด้านหน้าเป็นตัวป้องกัน เช่นเดียวกับ Quillon เพียงแต่ลดความเว่อร์วังอลังการของ Quillon ลง

คิดดูว่าถ้ามีดอันเล็กๆมี Quillon มันคงเกินความจำเป็นไปสักนิด เพราะเราไม่ได้ใช้งานหนักอะไรมากมาย
แต่ไม่ว่าจะเป็นมีดเล็ก มีดใหญ่ การมีตัวป้องกันนิ้วไว้ ก็ช่วยให้นิ้วปลอดภัยดี

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

11 ) Ricasso

เป็นส่วนหนาๆ เหมือนเป็นคอมีด ช่วงรอยต่อระหว่างส่วนใบมีด ก่อนที่จะเป็นส่วนของ Tang
ช่วงนี้ยิ่งหนา มีดก็มีมีความแข็งแรงมาก เป็นตัวช่วยถ่ายแรงก่อนจะถึง Tang และด้ามมีด
ในส่วนนี้ถ้ามีความหนามากไป มีดก็จะหนักโดยเปล่าประโยชน์   แต่บางทีก็อาจจะใช้เป็นพื้นที่สลักลาย ตรา สัญลักษณ์ลงไป เพราะไหนๆก็ไม่ได้ใช้ตรงส่วนนี้ของมีดอยู่แล้ว

12 ) Choil or Finger Choil

ส่วนนี้จะทำเป็นส่วนเว้าแบบไม่ลับคมไว้ที่ส่วนด้านล่างของใบมีด  บางทีก็ทำเป็นโค้งเล็กๆ เอาใช้ตอนงัด แงะ อะไรเล็กๆ ที่จะได้ไม่ต้องใช้ปลายมีดให้ปลายมีดสึก
บางทีส่วนโค้งนั้นจะพอดีกับการใส่นิ้วชี้ไว้ได้ เพื่อที่ว่าในการใช้งานที่ต้องเลื่อนตำแหน่งมือจับไปให้ใกล้ขึ้น

การเลื่อนนิ้วชี้ออกไปได้ ก็แสดงว่านิ้วหัวแม่มือ ก็จะขยับไปกดบนสันมีดได้ไกลขึ้นด้วย  ทำให้ลงน้ำหนักบนมีดได้มากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งในการใช้งานจริงนั้น จะต้องมีการฝึกใช้ และมีการระมัดระวังอย่างดี ในการใช้ฟังก์ชั่นนี้  เพราะถือเป็นตัวกั้นนิ้วชั้นสุดท้ายแล้ว พลาดพลั้ง หลุดลื่น ไถลไปก็เตรียมเสียเลือดได้เลย

13 ) Jimping

เป็นภาษาอังกฤษของทางภาคเหนือ และภาษาสก็อตแลนด์ หมายถึงความ Neat ความกริ๊บ ความเป๊ะ อะไรทำนองนั้น

ในส่วนของมีด Jimping หมายถึงรอยหยักๆที่ทำไว้ตรงสันมีด ตรงนี้จะเป็นรอยหยักที่ต่างจากSerrations ที่ทำไว้ตรงด้านคมมีด

Jimping ไม่มีคม ทำไว้เพื่อให้กดนิ้วหัวแม่มือบนหลังมีดได้สะดวก ไม่ลื่น

14 ) Pommel

มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึงส่วนโค้งๆมนๆ เหมือนผลแอปเปิ้ล

Pommel เป็นส่วนปลายสุดของด้ามมีด ซึ่งบางทีก็เรียกกันตรงๆว่า Butt

ในสมัยก่อนก็จะทำเป็นโค้งๆ ป้านๆ เหมือนผลแอปเปิ้ลแล้วค่อยๆปรับรูปแบบให้สวยงามกันออกไป

ความสำคัญของ Pommel ไม่ได้มีเพียงเรื่องความสวยงาม แต่เป็นเรื่องของการป้องกันนิ้วไม่ให้ลื่นหลุดออกไป  และยังช่วยในเรื่องของการผ่อนแรงในการฟันด้วย ลดการสะท้านมือ

มีดที่มีความยาวของใบมีด มากกว่าด้ามมีดมากๆ เวลาฟัน มันจะมีแรงสะท้อนกลับไปที่ปลายอีกด้านหนึ่ง

ซึ่งถ้าตัวด้ามมีดสั้น การรับแรงก็จะมาก เพราะตัวช่วยเฉลี่ยแรงมีน้อย จึงมีการถ่วงน้ำหนักที่ปลายด้ามมีดเอาไว้ ช่วยให้ลดการสะท้อนให้สะท้านมือได้

มีดเดินป่า มีด Survival โครงสร้างของมีดเดินป่า

15 ) Swedge / Swage

เป็นขอบที่เรียวลง เอียงลงของสันมีด อาจะมีการลับคมบ้าง แต่จะไม่คมเท่าด้านใบมีด
ทำให้มีดมีความแหลมมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการเจาะได้มากขึ้นนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าคำศัพท์เกี่ยวกับ มีดSurvival นั้น แต่ละคำชวนให้มึนงง และที่สำคัญยังมีศัพท์ที่ลงรายละเอียดเชิงลึกกว่านี้อีกเยอะมากๆ

ซึ่งเมื่อเรารู้จักศัพท์เหล่านี้ เวลาที่เราจะเลือกซื้อมีดไปเดินป่า 1 เล่ม จะทำให้เรารู้ว่า มีดแต่ละเล่มมี Function การใช้งานอะไรบ้าง เหมาะกับเราไหม

บางครั้งการมีฟังก์ชั่นเยอะๆบนมีดเล่มเดียว เหมือนว่าจะดี แต่บางทีก็เยอะไป จนใช้งานไม่สะดวกเลยสักอย่าง
ดังนั้น เวลาที่เราจะเลือกมีด เราคงต้องนึกถึงว่าฟังก์ชั่นหลักตัวไหนที่เหมาะกับการใช้งานของเรา

จากนั้นค่อยไปว่ากันว่ารายละเอียดที่ต้องการนั้น มันเหมาะที่จะอยู่บนมีดเล่มนั้นมากน้อยแค่ไหน
เช่นว่า เราอาจจะอยากใช้ Serrations แต่ขอน้อยๆพอ เอาแค่เผื่อๆติดไว้นิดหน่อย หรืออาจจะไม่ต้องการเลยก็ได้
หวังว่าคำศัพท์เหล่านี้ จะช่วยให้เข้าใจการออกแบบมีดแต่ละเล่มได้มากขึ้น

สนใจสั่งซื้อ มีดเดินป่า หรือ มีด Survival >>> ซื้อ มีดเดินป่า

ข้อมูลอ้างอิง :

  • https://premeditatedsurvival.com/choosing-a-survival-knife/
  • https://www.redrootblades.com/blogs/writing/knife-anatomy-101-from-tip-to-tang
ช่องทางการติดต่อกับทางร้าน
      • โทร. 098 279 8090
    • Line OA :
  เพิ่มเพื่อน
ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • Stock
  • Add to cart
  • Weight
  • Dimensions
Click outside to hide the comparison bar
Compare
Shopping cart close